วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

แนะนำตัว


นายธีระวัตร์  แสนชัย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3  เลขที่ 50



นายภูมิ  ระโยธี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3  เลขที่ 51

จิตสาธารณะ





จังหวัดอำนาจเจริญ

ตราประจำจังหวัด

พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตพระเหลา เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม


        จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 เดิมเป็นอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วยอำเภออำนาจเจริญ (ปัจจุบันคึออำเภอเมืองอำนาจเจริญ) อำเภอชานุมาน อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอพนา อำเภอหัวตะพาน อำเภอเสนางคนิคม และกิ่งอำเภอลืออำนาจ (ปัจจุบันคืออำเภอลืออำนาจ) คำว่าอำนาจเจริญเป็นภาษาเขมร มีความหมายตามตัว คือ อำนาจเจริญ

อาณาเขตติดต่อ

หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 56 ตำบล 653 หมู่บ้าน
  1. อำเภอเมืองอำนาจเจริญ
  2. อำเภอชานุมาน
  3. อำเภอปทุมราชวงศา
  4. อำเภอพนา
  5. อำเภอเสนางคนิคม
  6. อำเภอหัวตะพาน
  7. อำเภอลืออำนาจ
 แผนที่

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • สัญลักษณ์ประจำจังหวัดคือ รูปพระมงคลมิ่งเมืองซึ่งให้ความคุ้มครองชาวเมือง
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกจานเหลือง (Butea monosperma)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: ตะเคียนหิน (Hopea ferrea)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: พระมงคลมิ่งเมือง แหล่งรุ่งเรืองเจ็ดลุ่มน้ำ งามล้ำถ้ำศักดิ์สิทธิ์ เทพนิมิตพระเหลา เกาะแก่งเขาแสนสวย เลอค่าด้วยผ้าไหม ราษฎร์เลื่อมใสใฝ่ธรรม

สถานศึกษา

  • มหาวิทยาลัยมหิดล (โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ)
  • (มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ)

กิจกรรม 5 ส

หลักการ 5 ส
          กิจกรรม 5 ส เป็นปัจจัยพื้นฐานการบริหารคุณภาพ ที่จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในที่ทำงานให้เกิดบรรยากาศที่น่าทำงาน เกิดความสะอาดเรียบร้อยในสำนักงาน ถูกสุขลักษณะ ทำให้พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ สามารถใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มความสามารถ สร้างทัศนคติที่ดีของพนักงานต่อหน่วยงาน กิจกรรม 5 ส เป็นกลยุทธ์อีกวิธีหนึ่งที่เปิดโอกาสให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพ เป็น กิจกรรมที่ทำแล้วเห็นผลเร็วและชัดเจน นอกจากนั้นกิจกรรม 5 ส จะเป็นพื้นฐานในการนำวิธีการบริหารใหม่ๆ เข้ามาใช้ในอนาคตต่อไป
5 ส คืออะไร
กิจกรรม 5 ส เป็นแนวคิดการจัดระเบียบเรียบร้อยในที่ทำงานก่อให้เกิดสภาพการทำงานที่ดี ปลอดภัย มีระเบียบเรียบร้อย นำไปสู่การเพิ่มผลผลิต
สะสาง (SERI) คือ การแยกของที่ต้องการ ออกจากของที่ไม่ต้องการและขจัดของที่ไม่ต้องการทิ้งไป
สะดวก (SEITON) คือ การจัดวางสิ่งขอต่าง ๆ ในที่ทำงาน ให้เป็นระเบียบเพื่อความสะดวก และ ปลอดภัย
สะอาด (SEISO) คือ การทำความสะอาด เครื่องมือ อุปกรณ์ และสถานที่ทำงาน
สุขลักษณะ (SEIKETSU) คือ สภาพหมดจด สะอาดตา ถูกสุขลักษณะ และรักษาให้ดีตลอดไป
สร้างนิสัย (SHITSUKE) คือ การอบรม สร้างนิสัยในการปฏิบัติงานตามระเบียบวินัย ข้อบังคับอย่างเคร่งครัด

ประโยชน์จากการทำกิจกรรม 5 ส
1.บุคลากรจะทำงานได้รวดเร็วขึ้น มีความถูกต้องในการทำงานมากขึ้น บรรยากาศและสภาพแวดล้อมดีขึ้น
2.เกิดความร่วมมือ ร่วมใจ จะเกิดขึ้น บุคลากรจะรักหน่วยงานมากขึ้น
3.บุคลากรจะมีระเบียบวินัยมากขึ้น ตระหนักถึงผลเสียของความไม่เป็นระเบียบในสถานที่ทำงาน ต่อการเพิ่มผลผลิต และถูกกระตุ้นให้ปรับปรุงระดับความสะอาดของสถานที่ทำงานให้ดีขึ้น
4.บุคลากรปฏิบัติตามกฏระเบียบ และคู่มือการปฏิบัติงานทำให้ความผิดพลาดและความเสี่ยงต่างๆ ลดลง
5.บุคลากรจะมีจิตสำนึกของการปรับปรุง ซึ่งจะนำไปสู่ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน
6.เป็นการยืดอายุของเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ เมื่อใช้อย่างระมัดระวังและดูแลรักษาที่ดี และการจัดเก็บอย่างถูกวิธีในที่ที่เหมาะสม
7.การไหลเวียนของวัสดุ และ work in process จะราบรื่นขึ้น
8.พื้นที่ทำงานมีระเบียบ มีที่ว่าง สะอาดตา สามารถสังเกตสิ่งผิดปกติต่างๆ ได้ง่าย
9.การใช้วัสดุคุ้มค่า ต้นทุนต่ำลง
10.สถานที่ทำงานสะอาด ปลอดภัยและเห็นปัญหาเรื่องคุณภาพอย่างชัดเจน
     



โครงสร้าง Tense

Tense
Structure
Present
Simple Tense
S + V1 [ s , es ]

Continuous Tense
S + is , am , are + V.ing

Perfect Tense
S + has , have + V3

Perfect Continuous Tense
S + has , have + been + V.ing
Past
Simple Tense
S + V2

Continuous Tense
S + was , were + V.ing

Perfect Tense
S + had + V3

Perfect Continuous Tense
S + had been + V.ing
Future
Simple Tense
S + will , shall + V1

Continuous Tense
S + will , shall + be + V.ing

Perfect Tense
S + will , shall + have + V3

Perfect Continuous Tense
S + will , shall + have been + V.ing

ความสัมพันธ์ของระบบเลขฐานสอง กับระบบคอมพิวเตอร์

                ระบบเลขฐานที่มีความเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ คือ ช่วยในเรื่องการจัดการระบบดิจิตอลหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ในคอมพิวเตอร์ โดยส่วนใหญ่ระบบเลขฐานที่ใช้ในคอมพิวเตอร์เป็นระบบเลขฐานสอง ระบบเลขฐานแปดแบะระบบเลขฐานสิบหก โดยจะต้องมีการนำระบบเลขฐานดังกล่าวมาหาผลรวม และผลต่าง ๆ ตลอดจนกระทั่งการเปลี่ยนระบบเลขฐานสิง ระบบเลขฐานแปดและระบบเลขฐานสิบหกให้เป็นระบบเลขฐานสิบ และการเปลี่ยนระบบเลขฐานสิบให้เป็นระบบเลขฐานต่าง ๆ  เพื่อให้มนุษย์เกิดความเข้าใจระบบการทำงาน ของคอมพิวเตอร์ซึ่งในการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์นั้น ข้อมูลต่าง ๆ จะถูกนำเข้าเป็นลำดับของบิต(Bit) หรือเลขฐานสองก่อน เช่น 110100110110           110101100110    110110110110
                ถ้าเปลี่ยนเลขเหล่านี้เป็นเลขฐานสิบจะได้ 3382,3430,3510 ตามลำดับ จากตัวอย่างข้อมูลจะเห็นว่าการแทนข้อมูลต่างๆ ด้วยเลขฐานสองนั้น จะต้องใช้จำนวนตัวเลข หรือจำนวนหลักของเลขฐานสองจำนวนมาก ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการใช้งาน ดังนั้นจึงมีการนำระบบเลขฐาน 8 กับระบบเลขฐาน 16 ซึ่งเป็นระบบเลขที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์เหมือนกันมาใช้แทน
                เหตุผลอีกประการหนึ่ง คือ ฐาน 8 และฐาน 16 ต่างเป็นค่ายกกำลังของ 2 จะทำให้หารเปลี่ยนฐานระหว่างระบบเลขฐาน 8 และระบบเลขฐาน 16 กับเลขฐานสองทำได้ง่าย และใช้แทนเลขฐานสองได้โดยไม่เกิดความยุ่งยากในการเปลี่ยนระบบเลขฐาน
คอมพิวเตอร์อาศัยระบบเลขฐานสอง


ระบบตัวเลขที่ใช้ในคอมพิวเตอร์
ระบบตัวเลขที่ใช้งานทั่วๆ ไปนั้นมีอยู่มากมายแต่ระบบตัวเลขที่ใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์มีอยู่ 4 ระบบคือ ระบบเลขฐานสอง, เลขฐานแปด,เลขฐานสิบ และเลขฐานสิบหก โดยการทำงานแท้จริงแล้วในระบบคอมพิวเตอร์จะใช้สัญญาณไฟฟ้าระดับสัญญาณ 0และ1(ระดับสัญญาณดิจิตอล)เพื่อควบคุมการทำงาน หรือใช้ระบบเลขฐานสองนั่นเอง แต่การแทนค่าตัวเลขต่างๆโดยใช้เลขฐานสองนั้น หากมีจำนวนเลขมากๆ จะไม่สะดวกในการใช้งาน จึงได้มีการนำระบบเลขฐานแปดเละฐานสิบหก มาใช้เพื่อแทนค่าเลขฐานสอง เพื่อให้มนุษย์ เข้าใจได้ง่ายขึ้นแต่ระบบเลขฐานระหว่างเลขฐานที่มนุษย์ใช้กับระบบเลขฐานที่คอมพิวเตอร์ใช้งาน
เลขฐานสอง(Binary number system)
ประกอบด้วยเลข 2ตัวคือ 0 และ1 เท่านั้น แต่ถ้านำตัวเลขทั้งสองจำนวนมาเรียงประกอบกันขึ้นหลายๆหลัก จะเรียกแต่ละหลักว่า บิต  (Bit)  เช่น
                                                01 มีค่าเท่ากับ  2  บิต
                                         0101  มีค่าเท่ากับ  4  บิต
                 01010101 มีค่าเท่ากับ  8  บิต
เลขฐานแปด (Octal number system)
ประกอบด้วยเลข 8 ตัวคือ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7 ตัวเลขทั้ง 8 ตัวนี้จะมีค่าเกินเลข 7 ไม่ได้แต่สามารถนำมาเรียงประกอบกันหลายๆหลักเพื่อแทนจำนวนตัวเลขที่มีค่ามากกว่า 7 ได้ เช่น (4536)8 ระบบนี้เป็นอีกระบบหนึ่งที่ใช้งานในคอมพิวเตอร์สมัยก่อน เช่นในระบบคอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM

เลขฐานสิบหก (Hexadecimal number system)

ประกอบไปด้วยเลข 16 ตัวคือ 0,1,2,3,4,5,6,7,8,9,A,B,C,D,E,F ตัวเลขทั้ง 16 ตัวนี้เป็นเลขของฐานสิบหก และต้องมีค่าไม่เกินเลข F ด้วย เหตุที่ตัวเลขมากกว่า 9 ต้องเขียนเป็นอักษรA,B,C,D,E,F เนื่องจาก หากใช้เลข10จะทำให้เกิดเป็นเลข 2 หลัก ซึ่งจะทำให้เกิดความสับสนเนื่องจากในเลขแต่ละหลักของฐานสิบหก สามารุมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ถึง 15 หากเขียนแทนค่าจำนวน 10ด้วยเลขสองหลักแล้วจะไม่สามารุบอกได้ว่าเป็นเลข หลักเดียวที่มีค่า 10 หรือเป็นเลข 2 ดังนั้นจึงแทนค่าตั้งแต่ 10 ถึง 15 ด้วยตัวอักษรดังนี้
A   แทนตัวเลขที่มีค่า   10B   แทนตัวเลขที่มีค่า   11
C   แทนตัวเลขที่มีค่า   12
D   แทนตัวเลขที่มีค่า   13
E   แทนตัวเลขที่มีค่า   14
F   แทนตัวเลขที่มีค่า   15

ผังงานคอมพิวเตอร์

ผังงาน (Flowchart)  การเขียนผังงาน
1. ความหมายของผังงาน
ผังงาน (Flowchart) คือ แผนภาพแสดงลำดับขั้นตอนการทำงาน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวางแผนขั้นแรกมาหลายปี โดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ในการเขียนผังงาน เพื่อช่วยลำดับแนวความคิดในการเขียนโปรแกรม เป็นวิธีที่นิยมใช้เพราะทำให้เห็นภาพในการทำงานของโปรแกรมง่ายกว่าใช้ข้อความ หากมีข้อผิดพลาด สามารถดูจากผังงานจะทำให้การแก้ไขหรือปรับปรุงโปรแกรมทำได้ง่ายขึ้น
2. ประเภทของผังงาน
ผังงาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ผังงานระบบ (System flowchart) และ ผังงานโปรแกรม (Program flowchart)
2.1 ผังงานระบบ (System flowchart)
หมายถึง ผังงานที่แสดงขั้นตอนการทำงานของระบบทั้งหมด แสดงถึงอุปกรณ์ในรับข้อมูล เอกสารเบื้องต้น สื่อบันทึกข้อมูล วิธีการประมวลผล สูตรที่ใช้ในการคำนวณ การแสดงผลลัพธ์และอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลลัพธ์ในแต่ละจุดของผังงาน เป็นแสดงการทำงานทั้งระบบอย่างกว้าง ๆ ไม่ละเอียด จึงไม่สามารถเขียนโปรแกรมจากผังงานระบบได้

 2.2 ผังงานโปรแกรม (Program flowchart)
หมายถึง ผังงานที่แสดงขั้นตอนของคำสั่งการทำงานอย่างละเอียด โดยใช้สัญลักษณ์ในการเขียนผังงานเช่นเดียวกับการเขียนผังงานระบบ เป็นการวางแผนการเขียนโปรแกรมโดยผังงานโปรแกรมจะแสดงลำดับคำสั่งเป็นขั้นตอนในการปฏิบัติงานอย่างละเอียด การเขียนผังงานโปรแกรมก่อน จึงเขียนโปรแกรมตามผังงาน จะช่วยลดข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรมลง ทำให้การเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายและถูกต้องกว่าการเขียนโปรแกรมโดยไม่มีผังงาน

 3. สัญลักษณ์ในการเขียนผังงาน
เป็นสัญลักษณ์ตามมาตรฐานของ ANSI (the ANSI flowchart symbols)


 ยังมีสัญลักษณ์ของผังงานอีกหลายแบบที่ช่วยในการเขียนโปรแกรมให้สะดวกขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมระบบคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย
4 การจัดลำดับผังงาน
การเขียนโปรแกรมอย่างมีโครงสร้าง (Structured Programming) ช่วยให้การลำดับขั้นตอนการเขียนคำสั่งการทำงานถูกต้อง ไม่สับสน รูปแบบของผังงานเพื่อใช้ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีโครงสร้างมี 4 แบบ คือ
       4.1 แบบตามลำดับ (Sequence structure)
       รูปแบบคือ การทำงานแต่ละคำสั่งจากคำสั่งหนึ่งไปยังอีกคำสั่งหนึ่งตามลำดับ

4.2 แบบทางเลือก (Selection structure)
     รูปแบบคือ เลือกทำตามคำสั่งตามเงื่อนไขที่กำหนด มี 2 แบบ คือ
          1) IF <เงื่อนไข> THEN <ทำคำสั่ง>
          2) If <เงื่อนไข> THEN <ทำคำสั่งที่ 1> ELSE <ทำคำสั่งที่ 2>
     รูปแบบ 1) IF <เงื่อนไข> THEN <ทำคำสั่ง>

 รูปแบบ 2) IF <เงื่อนไข> THEN <ทำคำสั่งที่ 1> ELSE <ทำคำสั่งที่ 2>

4.3 แบบวนรอบ (Loop structure)
    รูปแบบ การทำคำสั่งเดิมซ้ำการหลายรอบตามเงื่อนไขที่กำหนด มี 2 แบบคือ
    1) แบบ DOWHILE หมายถึง ทำคำสั่งซ้ำ ๆ กันในขณะที่เงื่อนไขเป็นจริง
    2) แบบ DOUNTIL หมายถึง ทำคำสั่งซ้ำ ๆ กันจนกระทั่งเงื่อนไขเป็นจริง
1) แบบ DOWHILE เป็นการทำงานซ้ำ ๆ กันภายใต้เงื่อนไขที่เป็นจริง จนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จ จึงจะหยุดทำงาน และออกไปทำคำสั่งต่อไป

2) แบบ DOUNTIL เป็นการทำงานซ้ำ ๆ กันภายใต้เงื่อนไขที่เป็นเท็จ จนกว่าเงื่อนไขที่กำหนดไว้จะเป็นจริง จึงจะหยุดและออกไปทำคำสั่งอื่นต่อไป